โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย
(princess chulabhorn science high school Loei)
1. เป็นนักเรียนทุน โรงเรียนได้รับเงินอุดหนุน จากรัฐบาล 84,000 บาท/คน/ปี มาสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้นักเรียน เช่นค่าอาหาร ค่าเครื่องแบบนักเรียน ชุดพละ ชุดนอน ที่นอน หมอน ผ้าปู ปลอกหมอน ค่าซักรีด ค่าสมัครทดสอบ ประกวด แข่งขันทักษะวิชาการ ฯลฯ (จึงไม่เรียกเก็บค่าเทอมแต่อย่างใด จะเรียกว่า ยิ่งกว่าเรียนฟรี ก็ไม่ผิดนัก)
2. เป็นนักเรียนอยู่ประจำหอพัก (แยกหญิง ชาย) ให้กลับบ้านได้เดือนละ 1 ครั้งๆละ 4-5 วัน โดยประมาณ
3. รับนักเรียนห้องละ 24 คน(เน้นคุณภาพ ไม่เน้นปริมาณ)
4. ม.1 รับ 4 ห้อง 96 คน (88 คนรับทั่วไปและอีก 8 คน รับจากกลุ่มโรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียนไม่เกิน 200 คน โรงเรียนพระปริยัติธรรม ตำรวจตระเวณชายแดน เอกชนสอนศาสนาอิสลาม ศึกษาสงเคราะห์ ราชประชานุเคราะห์ เอกชนการกุศลสงเคราะห์ผู้ยากไร้)
5. ม.4 รับ 6 ห้อง 144 คน6. รับทั้งนักเรียนหญิง และนักเรียนชาย
7. รับนักเรียนในเขตพื้นที่บริการ 7 จังหวัดได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานีและขอนแก่น
8. หลักสูตรของโรงเรียนใช้หลักสูตรคล้ายกับ รร.มหิดลวิทยานุสรณ์
9. เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ (ไม่ใช่ห้องเรียนวิทยาศาสตร์) จึงมีห้องปฏิบัติการสาขาวิชาต่างๆครบตามมาตรฐาน รวมทั้ง เครื่องมือ สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย พอเพียง ปลอดภัย
10. จะรับสมัครนักเรียน ม.1 และ ม.4 ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน(ทั้งนี้ตามประกาศของ สพฐ)
11. วิชาที่ใช้สอบเข้าเรียน ทั้ง ม.1 และ ม.4 มี เพียง 2 วิชาได้แก่ วิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ จะมีสัดส่วนวิชาคณิตศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์ 60:40
12. การสมัครเข้าเรียน ม.1 ต้องสมัครทางเว็บไซต์ ของ สสวท.โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพฯ (http://genius.ipst.ac.th/)
13. การสมัครเข้าเรียน ม.4 ต้องสมัครทางเว็บไซต์ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (http://mwit.ac.th)
14. มีมหาวิทยาขอนแก่น เป็นพี่เลี้ยงหลักทางด้านวิชาการ และมหาวิทยาลัยอื่น ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น
15. มีการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับโรงเรียนคู่พัฒนาในประเทศญี่ปุ่นเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ Shizuoka Kita junior Science High school (เดินทางช่วงเดือนตุลาคม 10 วัน ครู 3 คน/นักเรียน 10-15 คน โดยมีการคัดเลือก ม.4,5,6)
16. มี MOU พัฒนาการศึกษากับ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ,มหาวิทยาลัยขอนแก่น,มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, สวทน. สสวท.,สวทช.,ฯลฯ
17. ไม่มีเด็กฝาก/และฝากเด็กไม่ได้ เพราะมีกระบวนคัดเลือกนักเรียนที่ชัดเจน
18. มาเรียนแล้ว ขอลาออก จะต้องถูกปรับ 1.5เท่าของเงินที่รัฐอุดหนุน และจะเรียกนักเรียนสำรองมาเรียนอีกไม่ได้
19. เป็นโรงเรียนที่ต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพระดับเดียวกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาชาติ (จึงมีการ MOU หรือแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น)
20. มีวิสัยทัศน์ พันธกิจและอุดมการณ์ที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ นักคิดค้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศในอนาคต
21. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (เลย-หนองบัวลำภู)และสังกัดสำนักงานบริหารความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา(สบว.) สพฐ.โดยมีคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ซึ่งมีเลขาธิการ สพฐ.เป็นประธาน (Board)เป็นผู้กำหนดนโยบาย กำกับ ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาอีกด้วย
22. นักเรียนมีโอกาสไปต่างประเทศหากโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย(-ปี 2561 นี้ ได้ไปอเมริกา เวียดนาม ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้และมาเลเซีย 59 คน-ปี 2562 แข่งขันโครงงานฯที่มาเลเซีย 20 คน ที่เกาหลีใต้ 20 คน แลกเปลี่ยนทางวิชาการที่ญี่ปุ่น 15 คนแข่งขันโครงงานฯ Yic ที่มาเลเชีย 9 คน แข่งขันโครงงานฯ Skysef ที่ญี่ปุ่น 6 คนค่ายคัดเลือกทุนโคเซนที่ญี่ปุ่น 2 คนค่ายวิชาการที่ฮ่องกง 1 คน)
23. นักเรียน ม.3 มีโอกาสสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ไปเรียน ม.4 ที่ KOSEN ประเทศญี่ปุ่น 7 ปีจนจบปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นกำลังคนในภาคมหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรม รองรับ EEC.
24. นักเรียน ม.3 และ ม.6 ต้องมีการจัดทำโครงงานเพื่อจบช่วงชั้น/และมีการนำเสนอโครงงานทั้งแบบ oral และ poster ในกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภาคอีสาน ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพภายใต้ชื่อ Symposium Science Fair
25. จะมีการจัดงาน Thailand-Japan Science fair ทุก 2 ปี (เป็นการนำเสนอโครงงานของนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่นด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์) ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ
26. จะมีการจัดงาน Thailand-Japan ICT fair ทุก 2 ปี สลับกับงาน Science fair (เป็นนำเสนอโครงงานของนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่นด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์) ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ
27. มีกิจกรรม Game Programming Hackathon ระหว่างนักเรียนไทยและญี่ปุ่น เป็นการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษา unity ในประเทศและคัดเลือกไปแข่งที่ญี่ปุ่น
28. นักเรียนทุกคนจะต้องทดสอบภาษาอังกฤษ ตามมาตรฐาน CEFR ภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อยกระดับภาษาอังกฤษให้สูงขึ้น และส่งเสริมให้ได้คัดเลือกสอบ IELS TOFLE ฯลฯ เพื่อมีคุณสมบัติรับทุนรัฐบาลเรียนต่อต่างประเทศ
29. นักเรียน ม.1 ต้องรับการทดสอบภาษาอังกฤษ CB-TEB เพื่อวัดระดับพื้นฐานและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
30. ผู้บริหาร ครู ต้องเข้าร่วมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษกับอาจารย์มหาวิทยาลัย OTAGO นิวซีแลนด์
31. นอกจากภาษาอังกฤษ ยังจัดให้มีเรียนภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีนอีกด้วย
32. การอยู่หอพัก เป็นการให้นักเรียนได้เรียนรู้ตลอด 24 ชั่วโมง และเป็นการฝึกคุณลักษณะนิสัย มีทักษะชีวิตที่เหมาะสม มีระเบียบวินัย มีจิตอาสา มีสุขภาพที่แข็งแรงตามวัย เป็นต้น
33. มีกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่มีลักษณะเดียวกันอีก 11 โรงเรียน กระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ได้แก่. จังหวัดสตูล ตรัง นครศรีธรรมราช เพชรบุรี ปทุมธานี ชลบุรี ลพบุรี พิษณุโลก เชียงราย
34. เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีรับทราบการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์
35. ไม่ใช่โรงเรียนมาตรฐานสากล แต่เป้าหมายและตัวชี้วัดมุ่งพัฒนาให้นักเรียนมีศักยภาพเทียบเท่าโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาชาติ
36. แม้จะเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ นักเรียนต้องมีคุณลักษณะเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ นักคิดค้นแล้ว ยังจะต้องมีทักษะชีวิตที่ดี มีจิตอาสาช่วยเหลือส่วนรวม มีสุนทรียภาพทั้งด้านศิลป ดนตรี กีฬา ควบคู่กันไป
37. มีกิจกรรมวิชาการของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ทั้ง 12 โรงเรียน ที่ทำร่วมกัน เช่น การแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ ,การแข่งขันหุ่นยนต์,การแข่งขันเขียนโปรแกรม Game Programming Hackathon ,การเข้าค่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม,การเข้าค่ายพัฒนาผู้นำสภานักเรียน,ฯลฯ
38. การสอบวัดผลกลางภาค/ปลายภาค ใช้ออกสอบร่วมกันของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ทั้ง 12 แห่ง ซึ่งมีกระบวนการออกข้อสอบที่ได้มาตรฐาน ฯลฯCr.
#ผอ.กิตติชัย กรวยทอง สิงหาคม 2563