สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานประชุมวิชาการ Thailand – Japan Student Science Fair 2023 (TJ – SSF2023) ณ โรงเรียน วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
วันที่ 20 ธันวาคม 2566 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานประชุมวิชาการ Thailand – Japan Student Science Fair 2023 (TJ – SSF 2023) ณ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดยกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นเจ้าภาพจัดงาน Thailand-Japan Student Science Fair 2023 ระหว่างวันที่ 20 – 23 ธันวาคม 2566 เพื่อเปิด โอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยและญี่ปุ่น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และศิลปวัฒนธรรม ผ่านการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ และทำกิจกรรมภายใต้แนวคิด “Seeding Innovation through Fostering Thailand-Japan Youth Friendship” “การบ่มเพาะนวัตกรรมผ่านมิตรภาพและ ความร่วมมือระหว่างเยาวชนไทยและญี่ปุ่น” เพื่อสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพสูงทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ เสริมสร้างสังคมที่ยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมจำนวน 800 กว่าคน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และนักเรียน จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั้งในประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น จำนวน 67 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียน Super Science High School 18 แห่ง สถาบันโคเซ็น 13 แห่ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และโรงเรียนที่เน้นการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ของไทย 36 แห่ง
โอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี ได้มีพระราชดำรัสเปิดงาน และทอดพระเนตรการแสดงในพิธีเปิดชุดการแสดง วาดฟ้อนสะออนบุญไทเลย, การแนะนำโรงเรียนที่ร่วมเสนอผลงาน การนำเสนอโครงงาน วิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกจำนวน 2 โครงงาน ทรงฟังการบรรยายพิเศษของ ศาสตราจารย์ โทโมยูกิ ไนโต๊ะ ผู้ช่วยอธิการบดี Graduate School of Information Technology Kobe Institute of Computing ประเทศญี่ปุ่น เรื่อง AI ทักษะแห่งอนาคตอย่าง ยั่งยืน อัลกอริธึมที่เป็นรากฐานของ Generative AI และการบรรยายพิเศษของรอง ศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ มีทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อง “นวัตกรรม มข. เปลี่ยนขยะและเหมืองทองคำที่มองไม่เห็น ให้เป็นพลังงานแห่งอนาคตตั้งแต่วันนี้ และทอดพระเนตรการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ในรูปแบบโปสเตอร์ของนักเรียนไทยและนักเรียน ญี่ปุ่นจำนวน 8 โครงงาน โครงการอาสาสมัครนักวิทยาศาสตร์เยาวชน โครงการบริการ วิชาการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนของกลุ่มโรงเรียนวิทยศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และผลงานความสำเร็จของครูโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย